กระบวนการขัดเกลาทางสังคม การขัดเกลาทางสังคมหมายถึง กระบวนการอบรมสั่งสอนสมาชิกให้เรียนรู้ระเบียบของสังคมเพื่อให้เห็นคุณค่าและนำเอากฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติเหล่านั้นไปเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ การขัดเกลาสังคมเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องได้รับตลอดชีวิต เพื่อที่จะทำให้มนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่ตนเป็นสมาชิดอยู่ได้เป็นอย่างดี การขัดเกลาทางสังคมอาจจำแนกได้ 2 ประเภท 1. การขัดเกลาทางสังคมโดยทางตรง เช่นการอบรมสั่งสอน ขัดเกลาที่พ่อแม่ให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นการสอนพูด สอนมารยาทในการรับประทานอาหาร หรือสอนให้เรียกพี่ น้อง ปู่ ย่า เป็นต้น ในกรณีนี้ผู้สอนและผู้รับจะรู้สึกตัวในกระบวนการอบรมสั่งสอนโดยตรง 2. การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อม เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์ ตลอดจนการดูภาพยนต์ ผู้รับจะเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว โดยสิ่งที่เรียนรู้จะค่อยๆซึมซับเข้าไปจิตใต้สำนึกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่สังคมยอมรับ และหากเป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับกระทำในสิ่งที่แปลกแยกออกไป การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อมจะครอบคลุม...