การขัดเกลาทางสังคม
กระบวนการขัดเกลาทางสังคม
การขัดเกลาทางสังคมหมายถึง กระบวนการอบรมสั่งสอนสมาชิกให้เรียนรู้ระเบียบของสังคมเพื่อให้เห็นคุณค่าและนำเอากฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติเหล่านั้นไปเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ การขัดเกลาสังคมเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องได้รับตลอดชีวิต เพื่อที่จะทำให้มนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่ตนเป็นสมาชิดอยู่ได้เป็นอย่างดี
การขัดเกลาทางสังคมอาจจำแนกได้ 2 ประเภท
1. การขัดเกลาทางสังคมโดยทางตรง เช่นการอบรมสั่งสอน ขัดเกลาที่พ่อแม่ให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นการสอนพูด สอนมารยาทในการรับประทานอาหาร หรือสอนให้เรียกพี่ น้อง ปู่ ย่า เป็นต้น ในกรณีนี้ผู้สอนและผู้รับจะรู้สึกตัวในกระบวนการอบรมสั่งสอนโดยตรง
2. การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อม เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์ ตลอดจนการดูภาพยนต์ ผู้รับจะเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว โดยสิ่งที่เรียนรู้จะค่อยๆซึมซับเข้าไปจิตใต้สำนึกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่สังคมยอมรับ และหากเป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับกระทำในสิ่งที่แปลกแยกออกไป การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อมจะครอบคลุมไปถึง การเข้าร่วมกับกลุ่มเพื่อนด้วยและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับตัวและการพัฒนาบุคลิก
ความมุ่งหมายของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม
1. เพื่อปลูกฝังระเบียบวินัยแก่สมาชิกในสังคม
2. เพื่อปลูกฝังความมุ่งหวังที่สังคมยกย่อง
3. เพื่อให้สมาชิกในสังคมได้รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนตามกาลเทศะและความเหมาะสม
4. เพื่อให้สมาชิกในสังคมเกิดความชำนาญและเพิ่มทักษะในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในสังคม
เครื่องมือที่ใช้ในการขัดเกลาทางสังคม
บรรทัดฐาน คือแบบแผน กฎเกณฑ์ ที่สังคมกำหนดแนวทางสำหรับบุคคลยึดถือและปฏิบัติ
ค่านิยม คือ แนวความคิด ความเชื่อ ที่บุคคลในสังคมเห็นว่ามีคุณค่าควรแก่การปฏิบัติ
ความเชื่อ คือ แบบของความคิดเกี่ยวกับตัวเราที่เกิดขึ้น มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอาจเป็นเรื่องที่มีเหตุผลหรือ ไม่มีเหตุผล ความเชื่อที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่เบี่ยงเบนไปในทางเสียหายทำให้การแสดงพฤติกรรมเป็นไปในทางที่ดี จึงสำคัญต่อการจัดระเบียบทางสังคม
การขัดเกลาทางสังคมเป็นกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรม ค่านิยมสังคม ซึ่งมีตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคม ดังนี้
1. ครอบครัว เป็นตัวแทนสำคัญที่สุดในการทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคม เพราะเป็นสถาบันแรกที่เด็กจะได้ระบบการอบรมสั่งสอนและจะมีความผูกพันทางสายโลหิตอย่างลึกซึ้ง ซึ่งจะมีผลทางอารมณ์ ความประพฤติ เจตคติ ตลอดจนบุคลิกภาพองบุคคลมากที่สุด เช่น พ่อแม่สั่งสอนให้ลูกเป็นคนกตัญญู เป็นต้น
2. กลุ่มเพื่อน เป็นตัวแทนที่ทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคมอีกหน่วยหนึ่ง เนืองจากกลุ่มแต่ละกลุ่มย่อมมีระเบียบ ความเชื่อและค่านิยมเฉพาะกลุ่มตนเอง ซึ่งอาจแตกต่างกันออกไป ตามลักษณะกลุ่ม เช่น การแต่งกาย กลุ่มเดียวกันก็จะแต่งกายคล้ายๆกัน
3.โรงเรียน เป็นตัวแทนสังคมที่ทำหน้าที่โดยตรงในการขัดเกลาสมาชิกตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่ โดยอบรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่างๆของสังคม ตลอดจนค่านิยมและทักษะอันจำเป็นให้แก่สมาชิกในสังคม
4. ศาสนา เป็นตัวแทนในการขัดเกลาจิตใจของคนในสังคมยึดมั่นในสิ่งที่ดีงาม มีศีลธรรม จริยธรรม และความประพฤติในทางที่ถูกที่ควรโดยศาสนาจะมีอิทธิพลทางจิตวิทยาต่อบุคคล ในการสร้างบุคลิกภาพเป็นอย่างมาก
5. กลุ่มอาชีพ อาชีพแต่ละประเภทจะมีการจัดระเบียบปฏิบัติเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มที่มีอาชีพค้าขายจะต้องมีความซื่อสัตย์ไม่เอาเปรียบลูกค้า ผู้ที่เป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่มต่างๆก็ต้องเรียนรู้ประเพณีของกลุ่มอาชีพที่ตนเป็นสมาชิกอยู่
6. สื่อมวลชน มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารของสมาชิกในสังคม มีส่วนในการขัดเกลาทางสังคมแก่มนุษย์ในด้านต่างๆ ทั้งด้านความคิด ความเชื่อ แบบแผนการประพฤติปฏิบัติ
ความสำคัญของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม
1. เป็นหลักในการปฏิบัติที่ทุกคนต้องเรียนรู้คุณค่าของกฎเกณฑ์
2. เป็นวิธีการถ่ายทอดลักษณะวัฒนธรรม
3. เป็นกระบวนการที่มีอยู่ตลอดชีวิตของความเป็นมา
การขัดเกลาทางสังคมหมายถึง กระบวนการอบรมสั่งสอนสมาชิกให้เรียนรู้ระเบียบของสังคมเพื่อให้เห็นคุณค่าและนำเอากฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติเหล่านั้นไปเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ การขัดเกลาสังคมเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องได้รับตลอดชีวิต เพื่อที่จะทำให้มนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่ตนเป็นสมาชิดอยู่ได้เป็นอย่างดี
การขัดเกลาทางสังคมอาจจำแนกได้ 2 ประเภท
1. การขัดเกลาทางสังคมโดยทางตรง เช่นการอบรมสั่งสอน ขัดเกลาที่พ่อแม่ให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นการสอนพูด สอนมารยาทในการรับประทานอาหาร หรือสอนให้เรียกพี่ น้อง ปู่ ย่า เป็นต้น ในกรณีนี้ผู้สอนและผู้รับจะรู้สึกตัวในกระบวนการอบรมสั่งสอนโดยตรง
2. การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อม เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์ ตลอดจนการดูภาพยนต์ ผู้รับจะเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว โดยสิ่งที่เรียนรู้จะค่อยๆซึมซับเข้าไปจิตใต้สำนึกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่สังคมยอมรับ และหากเป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับกระทำในสิ่งที่แปลกแยกออกไป การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อมจะครอบคลุมไปถึง การเข้าร่วมกับกลุ่มเพื่อนด้วยและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับตัวและการพัฒนาบุคลิก
ความมุ่งหมายของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม
1. เพื่อปลูกฝังระเบียบวินัยแก่สมาชิกในสังคม
2. เพื่อปลูกฝังความมุ่งหวังที่สังคมยกย่อง
3. เพื่อให้สมาชิกในสังคมได้รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนตามกาลเทศะและความเหมาะสม
4. เพื่อให้สมาชิกในสังคมเกิดความชำนาญและเพิ่มทักษะในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในสังคม
เครื่องมือที่ใช้ในการขัดเกลาทางสังคม
บรรทัดฐาน คือแบบแผน กฎเกณฑ์ ที่สังคมกำหนดแนวทางสำหรับบุคคลยึดถือและปฏิบัติ
ค่านิยม คือ แนวความคิด ความเชื่อ ที่บุคคลในสังคมเห็นว่ามีคุณค่าควรแก่การปฏิบัติ
ความเชื่อ คือ แบบของความคิดเกี่ยวกับตัวเราที่เกิดขึ้น มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอาจเป็นเรื่องที่มีเหตุผลหรือ ไม่มีเหตุผล ความเชื่อที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่เบี่ยงเบนไปในทางเสียหายทำให้การแสดงพฤติกรรมเป็นไปในทางที่ดี จึงสำคัญต่อการจัดระเบียบทางสังคม
การขัดเกลาทางสังคมเป็นกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรม ค่านิยมสังคม ซึ่งมีตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคม ดังนี้
1. ครอบครัว เป็นตัวแทนสำคัญที่สุดในการทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคม เพราะเป็นสถาบันแรกที่เด็กจะได้ระบบการอบรมสั่งสอนและจะมีความผูกพันทางสายโลหิตอย่างลึกซึ้ง ซึ่งจะมีผลทางอารมณ์ ความประพฤติ เจตคติ ตลอดจนบุคลิกภาพองบุคคลมากที่สุด เช่น พ่อแม่สั่งสอนให้ลูกเป็นคนกตัญญู เป็นต้น
2. กลุ่มเพื่อน เป็นตัวแทนที่ทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคมอีกหน่วยหนึ่ง เนืองจากกลุ่มแต่ละกลุ่มย่อมมีระเบียบ ความเชื่อและค่านิยมเฉพาะกลุ่มตนเอง ซึ่งอาจแตกต่างกันออกไป ตามลักษณะกลุ่ม เช่น การแต่งกาย กลุ่มเดียวกันก็จะแต่งกายคล้ายๆกัน
3.โรงเรียน เป็นตัวแทนสังคมที่ทำหน้าที่โดยตรงในการขัดเกลาสมาชิกตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่ โดยอบรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่างๆของสังคม ตลอดจนค่านิยมและทักษะอันจำเป็นให้แก่สมาชิกในสังคม
4. ศาสนา เป็นตัวแทนในการขัดเกลาจิตใจของคนในสังคมยึดมั่นในสิ่งที่ดีงาม มีศีลธรรม จริยธรรม และความประพฤติในทางที่ถูกที่ควรโดยศาสนาจะมีอิทธิพลทางจิตวิทยาต่อบุคคล ในการสร้างบุคลิกภาพเป็นอย่างมาก
5. กลุ่มอาชีพ อาชีพแต่ละประเภทจะมีการจัดระเบียบปฏิบัติเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มที่มีอาชีพค้าขายจะต้องมีความซื่อสัตย์ไม่เอาเปรียบลูกค้า ผู้ที่เป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่มต่างๆก็ต้องเรียนรู้ประเพณีของกลุ่มอาชีพที่ตนเป็นสมาชิกอยู่
6. สื่อมวลชน มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารของสมาชิกในสังคม มีส่วนในการขัดเกลาทางสังคมแก่มนุษย์ในด้านต่างๆ ทั้งด้านความคิด ความเชื่อ แบบแผนการประพฤติปฏิบัติ
ความสำคัญของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม
1. เป็นหลักในการปฏิบัติที่ทุกคนต้องเรียนรู้คุณค่าของกฎเกณฑ์
2. เป็นวิธีการถ่ายทอดลักษณะวัฒนธรรม
3. เป็นกระบวนการที่มีอยู่ตลอดชีวิตของความเป็นมา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น