ใบความรู้เรื่อง การขัดเกลาทางสังคม

                        การขัดเกลาทางสังคม
         การขัดเกลาทางสังคม เกี่ยวเนื่องกับคำถามที่ว่า"บุคคลเรียนรู้อะไร เมื่อไร และอย่างไร"เกี่ยวกับสังคมของเขาและเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในสังคม
         การขัดเกลาทางสังคม คือ การเรียนรู้ของสมาชิกในสังคมทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพตามความต้องการของสังคมการขัดเกลาทางสังคม คือ การนำคนเข้าสู่ระบบของสังคม โดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ขัดเกลาอัตตชีวะให้พ้นจากสภาพสัญชาตญาณเดิมจนกลายเป็นมนุษย์สังคม เพราะมนุษย์ไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก จึงต้องผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคมตลอดชีวิต ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
                • การขัดเกลาสังคมโดยตรง  -   ครอบครัว / การศึกษา / เพื่อน
                • การขัดเกลาสังคมโดยอ้อม  -  การเลียนแบบกัน
กระบวนการของการขัดเกลาทางสังคม         จากความหมายดังกล่าวมาแล้ว เราจะได้คำตอบว่า ทำไมบุคคล คนหนึ่งจึงรู้ว่าเมื่อตนอยู่ในฐานะตำแหน่งหนึ่งก็ย่อมมีบทบาทหนึ่ง ทั้งนี้เพราะบุคคลนั้นได้เรียนและยอมรับบทบาทของแต่ละฐานะตำแหน่งนั้น การขัดเกลาทางสังคมนี้เป็นกระบวนการที่ทุกคนจะต้องผ่านมานับตั้งแต่คลอดออกมาเป็นทารก และกลุ่มสังคมกลุ่มแรกที่ทำหน้าที่ให้การอบรมขัดเกลาทางสังคมให้เกิดการเรียนรู้ ได้แก่ ครอบครัว
         เมื่อทารกเกิดขึ้นจากครอบครัวอันได้แก่ สามีภรรยาซึ่งมีสถานภาพเป็นผู้ให้กำเนิดคือพ่อ และ แม่ ซึ่งมีญาติผู้ใหญ่ของแต่ละฝ่าย แล้วแต่จะกำหนดเรียก เช่น ในสังคมไทย คือ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือย้อนให้ไกลกว่านั้นอาจเป็น ปู่ทวด ย่าทวด เป็นต้น ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก็คือจากทารก เป็นเด็กเติบโต ตามลำดับ เวลาที่ผ่านไป คนๆนั้นจะมีลักษณะชีวภาพเกือบทั้งหมดปรือบางส่วนคล้ายคลึงกับพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ของเขา ลักษณะที่ว่านี้ เช่น โครงสร้างกระดูก สีผิว สีผม สีตา เป็นต้น หรือมีบางอย่างที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะแรก แต่มารากฎภายหลัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหืดหอบ สายตาสั้น เป็นต้น
         สักษณะเช่นนี้คือสิ่งที่บุคคลได้รับถ่ายทอดโดยกำเนิด เรียกว่า พันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์ ที่เป็นองค์ประกอบแรกของความเป็นคน ส่วนองค์ประกอบที่สองคือ การขัดเกลาทางสังคม หรือสิ่งแวดล้อมทางสังคม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้บุคคลเป็นคนโดยสมบูรณ์ ซึ่งเขียนสั้นๆได้ดังนี้
 ความเป็นคน = กรรมพันธุ์ + การขัดเกลาทางสังคม หรือ
  บุคคล            = กรรมพันธุ์  + สิ่งแวดล้อมทางสังคม
ความสำคัญของการขัดเกลาทางสังคม1. เรียนรู้คุณค่า  กฏเกณฑ์ ระเบียบแบบแผน
2. การถ่ายทอดวัฒนธรรม
3.  การปรับตัว
4.  ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง (self)
กระบวนการขัดเกลาทางสังคม
1. การตอบสนองความต้องการ (Respond)
2. การรู้จักปรับความต้องการและความสามารถเข้ากับกฎเกณฑ์ของสังคม (Adaptation)
3. การยึดถือสิ่งที่คล้ายกับตัวเอง (Identification)
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการขัดเกลาทางสังคม
1. การปราศจากสัญชาตญาณของมนุษย์
2. การต้องพึ่งพาผู้อื่นยามเยาว์วัย
3. ความสามารถในการเรียนรู้
4. ภาษา
จุดมุ่งหมายของการขัดเกลาทางสังคม
1. การปลูกฝังระเบียบวินัย
2. การปลูกฝังความมุ่งหวัง
3. สอนให้รู้จักบทบาทและทัศนคติต่างๆ
4. สอนให้เกิดความชำนาญและทักษะต่างๆ
การขัดเกลาทางสังคม เป็นลักษณะที่ปรากฏเฉพาะในสังคมมนุษย์เท่านั้น เพราะมีส่วนได้เปรียบในคุณลักษณะทางร่างกายและสมองที่แตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่น กล่าวคือ มนุษย์มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดซึ่งเป็นคุณสมบัติทางชีวภาพของมนุษย์ที่ติดตัวมาแต่เกิด ทำให้สามารถเรียนรู้ และจดจำได้มากขึ้นตามกาลเวลาที่ผ่านไป มนุษย์ผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคมโดยเฉพาะการรู้จักใช้ภาษาที่มนุษย์ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการติดต่อความหมายทำความเข้าใจระหว่างกัน มนุษย์สามารถใช้ภาษาอบรมสั่งสอนและเรียนรู้ได้ ภาษาทำให้มนุษย์สร้างความคิดเป็น สะสม รวบรวม ความรู้ ท่าที แบบพฤติกรรมต่างๆ ได้อย่างชัดแจ้ง และในภาษาเขียนซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นมรดกทางสังคมที่สืบต่อเนื่องกันมาหลายร้อยหลายพันปี มนุษย์ที่ผ่านผ่านกระบวนการขัดเกลาด้วนภาษานี้เองทำให้มนุษย์เป็นคนโดยสมบูรณ์ ในขณะที่สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้มีพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของมันด้วยสัญชาติญาณ เพราะฉะนั้นความเป็นคนโดยมาบูรณ์จึงต้องมีองค์ประกอบ 2 ส่วน ด้วยกันคือ คุณสมบัติทางชีวภาพ และการขัดเกลาทางสังคม
 มีงานวิจัยหลายชิ้นและการค้นพบวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลที่แสดงถึงความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์และการเติบโตของมนุษย์นอกระบบสังคม อาทิเช่น
-  ความสามารถของการเรียนรู้ระหว่างลิงแชมแปนซีกับทารกในชั้นแรกพบว่าไม่มีความแตกต่างกันแต่เมื่อถึงระยะที่จะหัดพูดปรากฎว่าลิงแชมแปนซีไม่สามารถจะเรียนรู้หรือจดจำอะไรต่อไปอีกได้ ส่วนเด็กนั้นสามารถเรียนรู้ต่อไปได้
-  เด็กหญิงชาวอินเดียซึ่งสำนักข่าว ยู เอ็น โอ แพร่กระจายข่าวให้ทั่วโลกทราบว่า เด็กคนนี้ “รามู” ได้เสียชีวิตแล้ว รามูเป็นที่เด็กที่ถูกหมาป่าคาบไปเลี้ยงตั้งแต่เด็กๆ เมื่อพบเขาอีกครั้งรามูมีอายุประมาณ 10 ปี เรื่องของรามูเป็นหนึ่งในหลายกรณีที่แสดงว่า คนจะเป็นคนโดยสมบูรณ์ต้องมีองค์ประกอบทั้งสองส่วน คือ ทางชีวภาพ และการขัดเกลาทางสังคม กล่าวคือ รามูเติบโตมาแบแม่หมาป่าและลูกหมาป่าตลอดเวลาเกือบสิบปี เขาพูดไม่ได้ ไม่นั่ง – ยืนอย่างคนปกติ สภาพพฤติกรรมของรามูถือได้ว่าเป็นลูกหมาป่าอย่างสมบูรณ์ เพราะคลานสี่เท้า เห่าหอนอย่างหมาป่า และชอบกินแต่เนื้อดิบ หลังจากแม่หมาป่าตาย และรามูได้ถูกนำเข้ามาสู่สังคมตามเดิม แต่เขาก็ปรับตัวไม่ได้ ทั้งการใช้ภาษาพูด – เขียน การกินอยู่หลับนอนมารยาททางสังคม รามูทำได้เพียงอย่างเดียวคือ รู้จักการอาบน้ำและหลังจากเขากลับสู่สังคมไม่นาน เขาก็เสียชีวิต
-  ความสำคัญของการขัดเกลาทางสังคม ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำสงครามจิตวิทยาแล้วในอดีต ซึ่งปรากฎอยู่ในรายงานของทหารอเมริกันที่ถูกจับตัวเป็นเชลยศึกในสงคราเกาหลีเหนือ จีนคอมมิวนิสต์ แยกเชลยศึกขังเดี่ยวไม่ให้มีการติดต่อซึ่งกันและกันเลย วิธีการแยกขังเดี่ยวเป็นการลบล้างกระบวนการขัดเกลาทางสังคมโดยเน้นหนักในระเบียบวินัยการปฎิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะในสนามรบมีการลงโทษที่รุนแรงถ้าฝ่าฝืนและให้คุรเมื่อปฎิบัติตาม เหล่านี้คือการสร้างกรอบแนวคิดในกรอบการขัดเกลาทางสังคมเดิมและถ้าหากยังนำมาขังรวมกันจะทำให้คนเหล่านั้นหันหน้าปรึกษาหารือกันเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันคือการมีชีวิตอยู่รอด
จากแนวคิดเรื่องความสำคัญของการขัดเกลาทางสังคมในหัวข้อที่แล้วสามารถปรับพื้นฐานทางชีวภาพของมนุษย์ต่อการขัดเกลาทางสังคมได้ 4 ประการคือ

1. การปราศจากสัญชาติญาณของมนุษย์ คือ สัญชาติญาณคือพฤติกรรมที่เกิดขื้นโดยไม่มีการเรียนรู้มาก่อน เช่น นกกระจาบที่ทำรับเหมือนกันหมด โดยไม่มีนกตัวใดสอน ปลาไซม่อนที่ว่ายทวนกระแสน้ำหลายพันไมล์เพื่อไปวางไข่ มดที่คาบไข่อพยพขึ้นที่สูงก่อนหน้าเพียงไม่กี่วันที่จะมีฝนตกใหญ่ เป็นต้น ความต้องการต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมนุษย์ เช่น ความหิว ความกระหาย เป็นต้น มนุษย์ไม่มีความสามารถในการหาวิธีการตอบสนองเองได้ มนุษย์จำเป็นต้องเรียนรู้ จากวิธีการที่สังคมนั้นๆ ใช้กันอยู่ การตอบสนองความต้องการต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการขัดเกลาทางสังคม

2. มนุษย์จำเป็นต้องพึ่งผู้อื่นในชีวิตวัยเยาว์ คือ การเจริญเติบโตของร่างกายในมนุษย์และสัตว์แต่ละชนิดแตกต่างกัน เช่น สัตว์ปีกทั้งหลาย ทั้งนก เป็ด ไก่ ห่าน สัตว์เหล่านี้ต้องใช้เวลาฟักภายใต้ปีกของแม่หลายสัปดาห์ ไข่จึงฟักเป็นตัว แล้วจงอยปากจะเจาะไข่ออกมา มันต้องใช้เวลาระยะหนึ่งให้ขนงอกออกพอสมควรแล้วมันจึงจะยืนได้ ทั้งแม่และพ่อต้องช่วยเหลือหาอาหารป้อนใส่ปากลูกของมัน

3. ความสามารถในการเรียนรู้ คือ สภาพชีวภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิดคือ มนุษย์มีสมองที่สีสติปัญญาเฉลียวฉลาดทำให้มีความทรงจำ และสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าสัตว์ ธรมชาติของสัตว์เมื่อมันเกิดขึ้นมานั้น มันไม่สามารถมีความจำพ่อแม่ของมันได้เหมือนมนุษย์ โดยเฉพาะสัตว์เล็กจะลืมพ่อลืมแม่ ลืมลูกเร็วมากกว่าสัตว์ใหญ่มันจึงมีการผสมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยไม่มีข้อยกเว้นกับพ่อแม่ของมัน ซึ่งต่างจากมนุษย์ที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำได้มากยาวนาน การขัดเกลาทางสังคมตลอดเวลาอันยาวนาน นับตั้งแต่เด็กยังช่วยตัวเองไม่ได้ จนเติบโตยิ่งมีระยะเวลายาวนานมากขึ้นเท่าใดก็จะยิ่งเห็นความสามารถและความแตกต่างกันของแต่ละบุคคลมาขึ้นเท่านั้น

4. การมีภาษาใช้ คือ ภาษามีส่วนสำคัญยิ่งในการขัดเกลาทางสังคม ภาษาเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุด ในการสั่งสอนและการเรียนรู้ การถ่ายทอดความคิด และวิชาการต่างๆ ต้องใช้ภาษาทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ที่ทำให้วัฒนธรรมของมนุษย์สืบต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดตอน โดยมาจากความสามารถทางสมองและชีวภาพของมนุษย์ที่ต่างไปจากสัตว์ การใช้ลื้น ฟัน รอมฝีปาก ทักษะของนิ้วมือ การใช้ความสารถบางกรณีใช้ปากของร่างกายสื่อสัมพันธ์กับสมองทำให้มนุษย์ใช้ภาษาต่างๆทั่วโลกทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน และความหมายร่วมกันเป็นหลักสากล คือ ภาษามือ
ความมุ่งหมายของการขัดเกลาทางสังคม

1. การปลูกฝังระเบียบวินัยพื้นฐาน
           การมีระเบียบวินัยถือเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตและกิจกรรมทางสังคมของการอยู่ร่วมกันของกลุ่ม จุดมุ่งหมายข้อนี้ทำให้บุคคลยอมรับระเบียบกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนด แม้ว่าอาจฝืนใจ หรือไม่เต็มใจทำ ระเบียบวินัยจึงเป็นพื้นฐานที่บุคคลถูกขัดเกลาให้ประพฤติปฎิบัติตั้งแต่วัยต้นของชีวิตในกิจกรรมชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น สอนให้รู้จักระเบียบในการขับถ่าย ทุกชาติทุกภาษาจะมีคำง่ายๆสั้นๆกระทัดรัดให้เด็กเล็กสมาชิกของตน รู้และเข้าใจการปฎิบัติตนในการขับถ่าย เช่น คำว่า “ฉี่” “อึ” ในชีวิตของคนไทยหลายคน กลุ่มที่ตั้งอยู่ริมน้ำ หรือบ้านไทยทั่วไปที่มีใต้ถุนสูง บ้านเรือนเหล่านี้จะถูกเจาะให้เป็นช่องเล็กๆ ผู้ใหญ่จะสอนลูกหลานของตนให้มีระเบียบหรือรู้จักมา ฉี่ หรือ อึ ที่ช่องเล็กๆดังกล่าว นอกจากการสอนให้รู้จักระเบียบในการขับถ่ายแล้ว การขัดเกลาทางสังคมยังสั่งสอนให้รู้จักมารยาททางสังคม เช่นการกราบไหว้ การทักทาย การรู้จักความสะอาด ดังนั้นจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับปลูกฝังระเบียบวินัยพื้นฐาน ผู้ใหญ่จึงควรทำเป็นแบบอย่าง มีความสม่ำเสมอ และมีความยืดหยุ่น อย่างมีเหตุผล เพราะพื้นฐานเหล่านี้จะมีผลต่อบุคลิกภาพของบุคคลอย่างมาก จากผลการวิจัยส่วนใหญ่จึงพบเหมือนกันว่า บิดามารดาที่เลี้ยงลูกมาอย่างกวดขันเข้มงวดระเบียบวินัยกับลูกของตนมากเกินไป และลงโทษด้วยการเฆี่ยนตีอย่างรุนแรง เด็กจะมีบุคลิกภาพที่ก้าวร้าว ปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ยากและมีผลต่อการลดความคิดสร้างสรรค์ของเด็กด้วย

2. การปลูกฝังความมุ่งหวังในชีวิตที่กลุ่มยอมรับ
           โดยปกติระเบียบวินัยเป็นสิ่งที่บุคคลไม่ค่อยอยากปฏิบัติ แต่ความมุ่งหวังจะช่วยให้บุคคลมีความมุ่งมั่น และยอมรับระเบียบวินัยที่จะต้องประพฤติปฏิบัติเพื่อลุล่วงสู่ความต้องการในอนาคต ความลุล่วงที่ต้องการนั้น คือ ความมุ่งหวังที่บุคคลได้รับจากสังคมหรือกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ได้ถ่ายทอดคุณค่าทางสังคมนั้นมาถึงตัวบุคคล เช่น คุณค่าทางสังคมของคนไทยยกย่องให้เกียรติคนที่มีการศึกษาสูง ยกย่องอาชีพบางอย่าง เช่น เป็นวิศวกร นายแพทย์ นายทหาร คุณค่าทางสังคมเหล่านี้บุคคลจะได้รับการปลูกฝังทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เขาเกิดความมุ่งหวังในคุณค่าเหล่านี้ และยอมลำบากทำตามบรรทัดฐานที่กลุ่มวางไว้เพื่อเป้าหมายของตน

3. การกำหนดบทบาทในสังคม           การกำหนดบทบาทในสังคม รวมทั้งทัศนคติต่างๆ ที่เข้ากับบทบาทนั้นๆ บุคคลจะได้รับการอบรมให้รู้ระเบียบสังคมตั้งแต่วัยต้นของชีวิตในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เช่น ลักษณะการวางตัวให้มีพฤติกรรมอย่างไรต่างบุคคลอื่นๆ ที่เขามีความสัมพันธ์ด้วยและถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะด้วย เป็นต้นว่า คนไทยส่วนใหญ่จะเริ่มสอนบุตรหลานของตนเมื่อเริ่มรู้ความ ให้รู้จัก “สวัสดี” หรือ “สาธุ” กับผู้ใหญ่ ขณะเดียวกันก็จะบอกเล่าถึงสถานภาพของผู้ใหญ่เหล่านั้นด้วยว่าท่านคือใคร ต้องวางตัวอย่างไร ด้วยการอบอรมในลักษณะที่สอนให้เด็กสะสมความรู้เกี่ยวกับบทบาทของตัวเขาและคนอื่นทีละเล็กทีละน้อยนี้เอง ผู้เรียนก็จะรับสิ่งต่างๆ เข้าไว้และประพฤติปฏิบัติได้อย่างไม่ขัดเขิน ถูกต้องตามกาลเทศะ

4. ทำให้เกิดความชำนาญ-ทักษะ
              การให้เกิดความชำนาญหรือทักษะที่จะมีส่วนร่วมกิจกรรมในสังคมกับคนอื่นๆ จุดมุ่งหมายข้อนี้เป็นผลสุดท้ายที่ต่อท้ายที่ต่อเนื่องมาจากจุดมุ่งหมายแต่ละข้อตามลำดับในสังคมที่มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ วิธีการเรียนรู้ของบุคคลมักเกิดจากการเลียนแบบถ่ายทอดกันลงมานับชั่วอายุคน โดยยึดหลักขนบธรรมเนียมประเพณีสืบต่อกันมา แต่ในสังคมที่สลับซับซ้อน ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตของบุคคลอย่างมาก วิธีการเรียนรู้ของสังคมประเภทหลังนี้จึงเป็นการเรียนรู้อย่างเป็นทางการซึ่งใช้ได้ผลมาก เช่น สังคมไทยในอดีต ผู้ชายจะได้รับหารถ่ายทอดในด้านวิชาความรู้ศิลปะการป้องกันตัว ฯลฯ จากวัด ซึ่งเป็นแหล่งที่ให้การขัดเกลาทางสังคมได้อย่างดีสำรับเด็กผู้ชาย ในขณะที่เด็กผู้หญิงจะได้รับการถ่ายทอดทางด้านการบ้าน การเรือน มารยาททางสังคมต่างๆ ที่กุลสตรีพึงมีจากภายในวัง แต่ปัจจุบันนี้การศึกษาเป็นทางการ คือ โรงเรียนได้เข้ามามีส่วนเสริมสร้างทักษะด้านนี้อยู่อย่างมากมายโดยเฉพาะความรู้ในด้านมนุษย์สัมพันธ์ต่างๆที่ช่วยให้การปฏิบัติต่อผู้อื่นเป็นไปอย่างราบรื่น
ปัจจัยสำหรับการขัดเกลามนุษย์
1. มีการปรับสัญชาติเวค (มนุษย์เป็นสัตว์ประเภทเดียวที่มีการเรียนรู้)
2. มีเยาว์วัยนาน
3. มีสมองทรงคุณภาพ
4. มีภาษา
George Herbert Mead แบ่งตัวตนออกเป็น 2 ส่วน คือ
การที่คนจะปฏิบัติตามกฎระเบียบสังคมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคนส่วนมาก มีลักษณะเป็นแบบ I & Me
  I      : ตัวตนที่ยังไม่ได้รับกฎระเบียบทางสังคมมาใช้ ทำตามใจ สังคมไม่ต้องการ
  Me  : บุคคลที่รับกฎระเบียบสังคมมาใช้  ขัดเกลาแล้ว สังคมยอมรับ

Freud แบ่งตัวตนออกเป็น 3 ประเภท คือ
  Id    : มนุษย์ที่มีสัญชาตญาณดิบ โดยมี “จิตไร้สำนึก” เป็นพลังขับสัญชาตญาณเดิม
  Ego : ตัวตนที่ถูกควบคุมโดยจิตสำนึกรับผิดชอบชั่วดี มีสติ ทำตามกฎระเบียบ
  Super-ego : ตัวตนที่มีความรับผิดชอบในระดับสูง ทำตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด
แนวคิดเกี่ยวกับการขัดเกลาทางสังคม
          การขัดเกลาทางสังคม เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมระหว่างคนรุ่นหนึ่ง กับคนอีกรุ่นหนึ่ง (Socialization As Enculturation)
แนวคิดนี้มองว่าบุคคลรับเอาวัฒนธรรมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับคนอีกรุ่นหนึ่ง(Socialization As Enculturation)แนวคิดนี้มองว่า บุคคลรับเอาวัฒนธรรมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกเขาอย่างตรงไปตรงมาโดยอัตโนมัติ เพราะเกิดขึ้นจากการรับรู้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ เป็นเวลานานจนซึมซาบเข้าไปโดยที่เกือบจะไม่มีการแปรสภาพวัฒนธรรมนั้นๆเลย

นัยยะสำคัญของแนวคิดนี้อธิบายได้ใน 3 ลักษณะ คือ
     (1) เด็กรับเอาวัฒนธรรมอย่างตรงไปตรงมาไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้หรือกลั่นกรองวัฒนธรรมแต่อย่างใด(passiverecipient)
     (2) วัฒนธรรมมีความมั่นคงถาวร (stable culture) คงเส้นคงวา (consistent content) ไม่ขัดแย้งกัน
     (3) กระบวนการขัดเกลาทางสังคมมีความสัมพันธ์กับกระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอื่น ๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผลกัน แยกออกจากกันได้ยาก และเกื้อหนุนการคงอยู่ของวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบ
        กระบวนการขัดเกลาทางสังคมเป็นกระบวนการของสังคม ในอันที่จะทำให้ปัจเจกบุคคลต้องปฏิบัติตามปทัสถาน (norms) ของสังคมที่มาของแนวคิดนี้เกิดจากการมองว่า การที่สังคมจะดำรงโครงสร้างของมันอยู่ได้ก็ด้วยการสรรหาบุคคลต่าง ๆ มาสวมบทบาทต่าง ๆ ในสังคมได้ , บุคลิกภาพ (personality) ของบุคคลและโครงสร้างทางสังคม (social structure) จึงเป็นระบบที่แยกต่างหากออกจากกัน และความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพส่วนบุคคลกับโครงสร้างทางสังคมจึงอาจมีหลายแนวทาง โดยกระบวนการขัดเกลาทางสังคมจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมร้อยให้สองระบบไปด้วยกันได้

         ดังนั้น การขัดเกลาทางสังคมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการหล่อหลอมพฤติกรรมของบุคคล และเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ ความขัดแย้ง และการเปลี่ยนแปลงของสังคม
Ref : http://www.tippawan.com/main/index.php?option=com_content&task=view&id=17&Itemid=1 09/06/2008

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อ่าน/ชม วีดีทัศน์ เพิ่มเติม โครงสร้างทางส้งคม

ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

ชิ้นงานที่ 1 เรื่อง สถาบันทางสังคม