หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชื่อหน่วย สังคมมนุษย์ เรื่อง โครงสร้างทางสังคมและการขัดเกลาทางสังคม
มาตรฐาน ส2.1
เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม
และธำรง รักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย
ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลก
อย่างสันติสุข
อย่างสันติสุข
ตัวชี้วัด ม.4-6/2 วิเคราะห์ความสำคัญของโครงสร้างทางสังคม
การขัดเกลาทางสังคม และการ
เปลี่ยนแปลงทางสังคม
เปลี่ยนแปลงทางสังคม
สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปกติสุขนั้น
จะต้องมีการจัดระเบียบสังคมและมีสถาบันทางสังคมช่วยทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1 ความรู้ (K)
1 รู้และเข้าใจความหมาย
องค์ประกอบและเห็นความสำคัญในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม
2
ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด (P)
1 วิเคราะห์ความสำคัญของโครงสร้างทางสังคมได้
3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
1 เห็นคุณค่าของการขัดเกลาทางสังคมไทย
3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
1 เห็นคุณค่าของการขัดเกลาทางสังคมไทย
สมรรถนะสำคัญที่ต้องการพัฒนา
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2 ความสามารถในการคิด
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
3 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
- กระบวนการทำงานกลุ่ม
สาระการเรียนรู้
1 โครงสร้างทางสังคม
-
การจัดระเบียบทางสังคม
-
สถาบันทางสังคม 2
การขัดเกลาทางสังคม
*****************************************************************
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
โครงสร้างทางสังคม
1. ความหมายของโครงสร้างทางสังคม
โครงสร้างทางสังคม คือ ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนหนึ่งที่มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม โดยมีบรรทัดฐานทางสังคมเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว
2. ลักษณะโครงสร้างทางสังคม
โครงสร้างทางสังคมมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. มีคนจำนวนหนึ่งที่มีการติดต่อระหว่างกัน หรือ การกระทำระหว่างสังคม คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่มีการติดต่อระหว่างกัน เช่น การคบค้าสมคม การขัดแย้งกัน ฯ
2. มีบรรทัดฐาน กฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผน คือ เป็นแนวทางให้บุคคลในสังคมยึดถือร่วมกัน เพื่อให้การติดต่อระหว่างกันดำเนินไปด้วยดี
3. มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ คือ ความต้องการให้โครงสร้างของตนเองมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับ มีความปลอดภัย เจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ที่ให้ประโยชน์แก่สมาชิก
4. มีลักษณะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ คือ โครงสร้างทางสังคมนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่ดีขึ้นของสังคมพร้อมกัน
3. องค์ประกอบของโครงสร้างทางสังคม
องค์ประกอบของโครงสร้างทางสังคมประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ
1. การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง กลุ่มคนที่มีความเป็นระเบียบแบบแผนและมีกระบวนการจัดระเบียบภายในกลุ่ม
1.1 กลุ่มคนที่เป็นระเบียบ เป้นกลุ่มคนที่มาติดต่อกันตามหน้าที่และระเบียบกฏเกณฑ์
1.2 กระบวนการจัดระเบียบทางสังคม เป็นเรื่องคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์กัน แต่ละคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน สถานภาพ และบทบาทของตน
- บรรทัดฐาน คือ แบบแผน กฎเกณฑ์ มาตรฐานในการปฏิบัติ
- สถานภาพ คือ เป็นตำแหน่งที่เราต้องรับผิดชอบได้จากการเป็นสมาชิกของกลุ่ม
- บทบาท คือ หน้าที่ที่ต้องทำตามสถานภาพที่เราได้รับ
หน้าที่ของการจัดระเบียบทางสังคม
1. สร้างระเบียบที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม
2. อบรมสั่งสอนระเบียบแบบแผนต่างๆ ให้สมาชิกมีความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ สามารถนำเอาไปใช้ได้
3. สั่งสมและรักษาระเบียบแบบแผนให้อยู่ยั่งยืนนาน
4. ปรับปรุงระเบียบแบบแผนให้เข้ากับยุคสมัย
2. สถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคม หมายถึง กฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนของสังคม ที่เป็นแนวทางการประพฤติในสังคม และแต่ละสังคมมีความต้องการและความจำเป็นหลายอย่าง จึงจำเป็นต้องมีสถาบันทางสังคมหลายสถาบัน เช่น
2.1 สถาบันครอบครัว สนองความต้องการของมนุษย์ในด้านการกำเนิดบุตรและให้การอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูสมาชิกใหม่
2.2 สถาบันการเมืองการปกครอง ควบคุมสังคมไม่ให้เกิดความไม่สงบ รักษาความเป็นระเบียบ ความเรียบร้อยในสังคม
2.3 สถาบันเศรษฐกิจ สนองความต้องการในด้านการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจกและการบริการต่างๆ เพื่อให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้
2.4 สถาบันการศึกษา เป็นสถาบันที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมในทุกเรื่อง
2.5 สถาบันศาสนา ความเชื่อความศรัทธาของมนุษย์ต่อสภาพแวดล้อมรอบตัว สถาบันนี้จะควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ให้อยู่ในระเบียบ หน้าที่ของสถาบันสังคม
1. ดูแลการเพิ่มหรือขาดของจำนวนสมาชิกในสังคม และให้การเลี้ยงดู ให้ความอบอุ่นแก่สมาชิก
2. ให้การศึกษาอบรมเกี่ยวกันการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม รวมทั้งอาชีพที่ใช้ในการดำรงชีวิต
3. ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสาต่างๆ เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม
4. ส่งเสริมและรักษาความเป็นระเบียบและความมั่นคงของสังคม
5. ผลิตสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
6. จัดหา ส่งเสริม ผลิตเครื่องเครื่องใช้ที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิต และการพัฒนาชีวิตให้มีคุณภาพสูงขึ้น
7. ให้ความรู้และส่งเสริมเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของสมาชิกในสังคม
โครงสร้างทางสังคม คือ ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนหนึ่งที่มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม โดยมีบรรทัดฐานทางสังคมเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว
2. ลักษณะโครงสร้างทางสังคม
โครงสร้างทางสังคมมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. มีคนจำนวนหนึ่งที่มีการติดต่อระหว่างกัน หรือ การกระทำระหว่างสังคม คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่มีการติดต่อระหว่างกัน เช่น การคบค้าสมคม การขัดแย้งกัน ฯ
2. มีบรรทัดฐาน กฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผน คือ เป็นแนวทางให้บุคคลในสังคมยึดถือร่วมกัน เพื่อให้การติดต่อระหว่างกันดำเนินไปด้วยดี
3. มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ คือ ความต้องการให้โครงสร้างของตนเองมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับ มีความปลอดภัย เจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ที่ให้ประโยชน์แก่สมาชิก
4. มีลักษณะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ คือ โครงสร้างทางสังคมนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่ดีขึ้นของสังคมพร้อมกัน
3. องค์ประกอบของโครงสร้างทางสังคม
องค์ประกอบของโครงสร้างทางสังคมประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ
1. การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง กลุ่มคนที่มีความเป็นระเบียบแบบแผนและมีกระบวนการจัดระเบียบภายในกลุ่ม
1.1 กลุ่มคนที่เป็นระเบียบ เป้นกลุ่มคนที่มาติดต่อกันตามหน้าที่และระเบียบกฏเกณฑ์
1.2 กระบวนการจัดระเบียบทางสังคม เป็นเรื่องคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์กัน แต่ละคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน สถานภาพ และบทบาทของตน
- บรรทัดฐาน คือ แบบแผน กฎเกณฑ์ มาตรฐานในการปฏิบัติ
- สถานภาพ คือ เป็นตำแหน่งที่เราต้องรับผิดชอบได้จากการเป็นสมาชิกของกลุ่ม
- บทบาท คือ หน้าที่ที่ต้องทำตามสถานภาพที่เราได้รับ
หน้าที่ของการจัดระเบียบทางสังคม
1. สร้างระเบียบที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม
2. อบรมสั่งสอนระเบียบแบบแผนต่างๆ ให้สมาชิกมีความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ สามารถนำเอาไปใช้ได้
3. สั่งสมและรักษาระเบียบแบบแผนให้อยู่ยั่งยืนนาน
4. ปรับปรุงระเบียบแบบแผนให้เข้ากับยุคสมัย
2. สถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคม หมายถึง กฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนของสังคม ที่เป็นแนวทางการประพฤติในสังคม และแต่ละสังคมมีความต้องการและความจำเป็นหลายอย่าง จึงจำเป็นต้องมีสถาบันทางสังคมหลายสถาบัน เช่น
2.1 สถาบันครอบครัว สนองความต้องการของมนุษย์ในด้านการกำเนิดบุตรและให้การอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูสมาชิกใหม่
2.2 สถาบันการเมืองการปกครอง ควบคุมสังคมไม่ให้เกิดความไม่สงบ รักษาความเป็นระเบียบ ความเรียบร้อยในสังคม
2.3 สถาบันเศรษฐกิจ สนองความต้องการในด้านการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจกและการบริการต่างๆ เพื่อให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้
2.4 สถาบันการศึกษา เป็นสถาบันที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมในทุกเรื่อง
2.5 สถาบันศาสนา ความเชื่อความศรัทธาของมนุษย์ต่อสภาพแวดล้อมรอบตัว สถาบันนี้จะควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ให้อยู่ในระเบียบ หน้าที่ของสถาบันสังคม
1. ดูแลการเพิ่มหรือขาดของจำนวนสมาชิกในสังคม และให้การเลี้ยงดู ให้ความอบอุ่นแก่สมาชิก
2. ให้การศึกษาอบรมเกี่ยวกันการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม รวมทั้งอาชีพที่ใช้ในการดำรงชีวิต
3. ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสาต่างๆ เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม
4. ส่งเสริมและรักษาความเป็นระเบียบและความมั่นคงของสังคม
5. ผลิตสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
6. จัดหา ส่งเสริม ผลิตเครื่องเครื่องใช้ที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิต และการพัฒนาชีวิตให้มีคุณภาพสูงขึ้น
7. ให้ความรู้และส่งเสริมเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของสมาชิกในสังคม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น